Indigenous
แม่แจ่มโมเดล

การแก้ไขปัญหาสิทธิที่ดินและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในภาคเหนือของประเทศไทยผ่านเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนความเป็นมาอำเภอแม่แจ่มมีประชากรประมาณ 60,000 คน เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำสำคัญทางยุทธศาสตร์ในพื้นที่สูงของภาคเหนือของประเทศไทย อำเภอนี้โดยพื้นฐานแล้วประกอบด้วยป่าสงวนแห่งชาติแม่แจ่ม1 ซึ่งจัดเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำระดับ 1A2 ซึ่งหมายความว่าบริเวณดังกล่าวห้ามตั้งถิ่นฐานหรือกิจกรรมทางการเกษตรทุกรูปแบบ ปัจจุบันมีการใช้พื้นที่ประมาณร้อยละ 20 (136,337 เอเคอร์ หรือประมาณ 344,835.165 ไร่) ของพื้นที่ทั้งอำเภอแม่แจ่ม เพื่อเป็นที่ดินสำหรับทำการเกษตรและเป็นที่อยู่อาศัยข้าวโพดเป็นพืชหลักที่ปลูกในอำเภอแม่แจ่มเสริมด้วยผักใบเขียว มันฝรั่งและผักอื่น ๆ การตัดไม้และการหาอาหารที่ผิดกฎหมายภายในป่าท้องถิ่นโดยเฉพาะการหาเห็ดและสมุนไพรเป็นแหล่งรายได้ที่คล้ายคลึงกัน รูปแบบทางเศรษฐกิจนี้ได้ก่อให้เกิดความกังวลเมื่อเร็ว ๆ นี้ เนื่องจากการพึ่งพาการผลิตข้าวโพดผสมผสานกับประเพณีการเผาตอซังข้าวโพดในท้องถิ่นหลังจากการเก็บเกี่ยวเสร็จสิ้นแล้วทำให้เกิดหมอกและควันจำนวนมากปัญหาหมอกควันและมลพิษทางอากาศในเชียงใหม่เมื่อไม่นานนี้. ที่มา: เดอะเนชั่น. เมษายน 2561. ลิขสิทธิ์ CC-BY-SA-4.0. ขนาดของการเผามีขนาดใหญ่มากจนส่งผลกระทบไม่เพียงแต่ในพื้นที่อำเภอแม่แจ่มเท่านั้นแต่ยังรวมถึงเมืองเชียงใหม่และชุมชนรอบข้าง หมอกควันที่เกิดจากอำเภอแม่แจ่มและพื้นที่อำเภอใกล้เคียงรวมทั้งประเทศเพื่อนบ้านส่งผลให้นักท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ลดลงร้อยละ 40 ซึ่งส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในท้องถิ่นซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภูมิภาค3 คุณภาพอากาศต่ำยังมีผลกระทบเชิงลบอย่างมากต่อสุขภาพของผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่รายงานว่าประชาชนกว่า 8,000 คนในจังหวัดเชียงใหม่ได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษทางอากาศที่เกิดจากไฟป่าและการเผาซังข้าวโพดในภูมิภาคในช่วงวันที่ 1 มีนาคม ถึง 11 มีนาคม 25584 ในจังหวัดเชียงใหม่มีการเผาซังข้าวโพดกลางแจ้งประมาณ 213,624.82 ...