Environment and land
นโยบายและการจัดการป่าไม้

กฎหมายและนโยบายด้านป่าไม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 (ฉบับแก้ไข 2562) พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507นโยบายการป่าไม้แห่งชาติ พ.ศ. 2528 (ปัจจุบันอยู่ระหว่างการแก้ไข 2563) มติครม. เรื่องการปิดป่าสัมปทาน (17 มกราคม พ.ศ. 2532)1พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 (ฉบับแก้ไข 2562)พระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ. 2535 และฉบับแก้ไข พระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ. 2545ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดให้มีโฉนดชุมชน พ.ศ. 2553 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2564พระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562ประเทศไทยบังคับใช้นโยบายและกฎหมายด้านการจัดการป่าไม้อย่างเป็นระบบและยั่งยืนมานานกว่าสามทศวรรษ ถึงแม้จะพบความท้าทายอย่างมากทั้งในเชิงปฏิบัติ การมีส่วนร่วมและสิทธิของชุมชน2 หลักธรรมาภิบาลจึงถือได้ว่าเป็นปัจจัยบวกที่ส่งเสริมต่อความสมบูรณ์ของป่าไม้ไทย3นิยามของป่าไม้โดยทั่วไป “ป่า” หมายถึง ขอบเขตพื้นที่ป่าที่มิได้มีกรรมสิทธิ์ของบุคคลตามกฎหมายที่ดินและไม่เกี่ยวข้องกับป่าปกคลุม ...
ป่าไม้และวนศาสตร์

ป่าไม้เป็นระบบนิเวศที่สำคัญยิ่งและเป็นแหล่งเศรษฐกิจหลักของประเทศไทย อีกทั้งเป็นแหล่งทำมาหากินของคนไทยจำนวนมากในปี 2561 ผลิตภัณฑ์จากป่ามีมูลค่าส่งออกรวมโดยประมาณ 118 พันล้านบาท (หรือเทียบเท่า 3.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ)1 หรือคิดเป็นร้อยละ 1.2 ของสินค้าและบริการที่ส่งออกทั้งหมด2 ตัวเลขดังกล่าวไม่รวมมูลค่าการบริโภคผลิตภัณฑ์ป่าไม้ภายในประเทศหรือมูลค่าที่ได้จากบริการระบบนิเวศป่าไม้หลังจากปริมาณป่าปกคลุมลดลงอย่างชัดเจนในช่วงสองทศวรรษระหว่างปี 2503-2523 ประเทศไทยเริ่มมีเสถียรภาพด้านป่าไม้และเปลี่ยนปริมาณป่าปกคลุมให้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นได้ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ถึงแม้ความท้าทายด้านการกำกับดูแลงานและความขัดแย้งยังคงมีอยู่ป่าดิบเขาบนดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ ประเทศไทย. ภาพถ่ายโดย @icon0com, pxhere.com. ภายใต้ลิขสิทธิ์ CC0 Public Domain.ป่าปกคลุมและการเปลี่ยนแปลงจากรายงานของ FAO พบว่าในปี 2559 ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าไม้จำนวน 16.4 ล้านเฮกตาร์ (102.5 ล้านไร่) หรือประมาณร้อยละ 32 ของพื้นที่ทั้งหมด ลดลงเล็กน้อยจากปี 2543 ที่มีประมาณ 17 ล้านเฮกตาร์ (106.25 ล้านไร่) ...
ผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมจากการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ

นโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนทั้ง 10 แห่งของประเทศไทยโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. เกิดขึ้นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของพื้นที่ชายแดนด้อยพัฒนา และเพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนที่อาศัยในบริเวณนั้น แต่ทว่า กระบวนการได้มาและจัดการที่ดินทั้งพื้นที่ป่าและพื้นที่สาธารณะเพื่อใช้ประโยชน์เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนสร้างก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านกับรัฐบาล ซึ่งกลไกการตัดสินใจโดยมากเกิดขึ้นจากภาครัฐ ขาดการมีส่วนร่วมของคนท้องถิ่น ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งในพื้นที่ นำไปสู่ข้อร้องเรียนต่างๆ และทำให้เกิดความล่าช้าในการพัฒนา ป้ายคัดค้านการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษบนรั้วที่ดินในอำเภอแม่สอด ที่มา: Heinrich Boll-Stiftung South East Asia การอนุญาต: CC BY-NC-SA 2.0นโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทรัพยากรที่ดินสาธารณะที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมและที่อยู่อาศัยที่ไม่ได้มีการรับรองโดยภาครัฐ มีการใช้มาตรการกระตุ้นดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาพัฒนาพื้นที่ โดยกำหนดให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ราชพัสดุ โดยมีกรมธนารักษ์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินและดำเนินการออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินเพื่อการใช้ประโยชน์ในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และมีการจัดสรรพื้นที่ให้หน่วยงานราชการ หรือการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือนักลงทุนใช้ประโยชน์1ทั้งนี้ จากนั้นหน่วยงานภาครัฐจะจัดสรรที่ดินให้กับนักลงทุน สร้างแรงจูงใจด้วยการทำข้อตกลงเฉพาะการเจรจาด้านการพัฒนาทางเศรษฐกิจในพื้นที่และผลประโยชน์สาธารณะที่คาดว่าจะเกิดขึ้น อย่างไรก็ดี จากประสบการณ์ที่ผ่านมาพบว่า การเจรจาระหว่างภาครัฐและชาวบ้านในพื้นที่มักจะล้มเหลว ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งที่จำกัดความยั่งยืนทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมของพื้นที่เหล่านี้ผลที่ตามมาคือ โครงการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนี้มีความเสี่ยงที่จะล่าช้าออกไปและประโยชน์ที่คาดไว้จะถูกถ่ายโอนไปยังภูมิภาคอื่น และเป็นที่ทราบกันดีว่าโครงการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในประเทศไทยได้ส่งผลผลักดันราคาที่ดินในภูมิภาคให้สูงขึ้นตามการเก็งกำไร ด้วยเหตุนี้ ความล้มเหลวในการเจรจาจะตัดโอกาสให้คนในพื้นที่เป็นเจ้าของโครงการผลกระทบทางสังคม การดำเนินงานของโครงการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษส่งผลกระทบทางสังคมมากมาย เช่น ...
กฎหมายและนโยบายสำหรับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

ประเทศไทยกำลังดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนทั้ง 10 จังหวัดทั่วประเทศ อย่างไรก็ตาม ร่าง พรบ. เขตเศรษฐกิจพิเศษ กฎหมายเฉพาะที่เป็นกฎหมายแม่บทกำกับดูแลในเรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษยังอยู่ในกระบวนการทางนิติบัญญัติ ซึ่งใช้ระยะเวลานาน เพื่อเข้าใจผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งแง่บวกและแง่ลบจากการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ การศึกษาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวทางของอาเซียน จึงมีความสำคัญยิ่ง1การติดตามบทบาทการทำงานของสถาบันรัฐที่กํากับดูแลการทํางาน และมาตรการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องของภาครัฐ อาทิเช่น สำนักงานส่งเสริมการลงทุน (BOI) และมาตรการที่อยู่นอกเหนือจาก BOI จึงมีความสำคัญยิ่งเพื่อให้การดำเนินงานเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ภาคประชาสังคมมีบทบาทสำคัญดังกล่าวเพื่อลดผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินมาตรการกระตุ้นการลงทุนของภาครัฐที่มีต่อประชาชนในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นนโยบายเกี่ยวกับการถือครองและจัดการที่ดิน มาตรการจัดการแรงงาน มาตรการด้านสาธารณสุข เป็นต้นนโยบายการถือครองและจัดการที่ดินที่เกี่ยวข้องกับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ประกาศนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อสร้างฐานการผลิตเชื่อมโยงกับอาเซียนและพัฒนาเมืองชายแดน และอาศัยมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว ได้มีคำสั่งอย่างต่อเนื่องเพื่อเอื้อต่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษอย่างรวดเร็ว2 เช่น คำสั่ง คสช. ที่ 72/2557 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) 27 มิถุนายน ...
เขตเศรษฐกิจพิเศษ

เขตเศรษฐกิจพิเศษประเทศไทย คือ บริเวณพื้นที่ที่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) กำหนดให้เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งรัฐจะสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน สิทธิประโยชน์การลงทุน การบริหารแรงงานต่างด้าวแบบไป-กลับ การให้บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จและการบริการอื่นที่จำเป็น1ตัวอย่างเขตเศรษฐกิจพิเศษ สระแก้ว กำลังดำเนินการพัฒนาบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ส่วนหนึ่งของระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้ของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เน้นการขนส่งสินค้าจากไทยไปยังเวียดนามใต้ อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ เกษตรกรรม เฟอร์นิเจอร์ อัญมณี อิเล็กทรอนิกส์ พลาสติก ยา การท่องเที่ยว เป็นต้น ที่มา: สำนักงานต่างประเทศ รัฐบาลไทย การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษบริเวณชายแดนของประเทศไทย เริ่มจากการผลักดันของธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) ภายใต้กลยุทธ์ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากโครงการระเบียงเศรษฐกิจ ในปี พ.ศ. 2541 โดยกำหนดการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนใส่ในแผนปฏิบัติการเพื่อการเปลี่ยนระเบียงการขนส่ง (Transport Corridors) ให้เป็นระเบียงเศรษฐกิจ (Economic Corridors)231 มี.ค. 2556 มติคณะรัฐมนตรีมอบหมายสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ...
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ในปี พ.ศ.2559 ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในลำดับที่ 20 ของประเทศที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลก มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.90 ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลกหรือปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปีละ 327 ตัน การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ดังกล่าวสอดคล้องกับอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อคนที่ปริมาณ 4.7 ตัน ซึ่งต่ำกว่าอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลกต่อคนเล็กน้อยที่ปริมาณ 4.80 ตัน 1 ประชากรและขนาดของเศรษฐกิจของประเทศได้รับการรายงานว่าเป็น 2 ตัวขับเคลื่อนหลักของตัวเลขเหล่านี้ทั่วโลกอุทกภัยในแม่น้ำเจ้าพระยาครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้างใกล้กับกรุงเทพมหานคร ภาพโดยข่าวสารประเทศไทย แหล่งข้อมูลจากกูเกิ้ลอิมเมจ ภายใต้ลิขสิทธิ์ของ CC BY 2.0ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศเป็นที่ประจักษ์แล้วทั่วโลก ประเทศไทยในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของลุ่มแม่น้ำโขงกำลังพยายามจัดการกับผลกระทบเหล่านี้ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากแรงกดดันต่อระบบนิเวศที่เกิดจากการพัฒนาเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่ การตัดไม้ทำลายป่า การกัดเซาะชายฝั่งทะเล และ ความเป็นเมือง ปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรประมาณ 70 ล้านคนและมีความเสี่ยงจากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศแบบสุดขั้ว เช่น อุทกภัยและภัยแล้ง ซึ่งกำลังเกิดขึ้นบ่อยครั้งและมีความรุนแรงอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนของสภาพภูมิอากาศ ตัวอย่าง เช่น ในปี 2554 ประเทศไทยประสบกับอุทกภัยที่รุนแรงที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกไว้ ต้องใช้งบประมาณเพื่อซ่อมแซมและฟื้นฟูจำนวน 46 พันล้านเหรียญสหรัฐ และเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานครต้องใช้งบประมาณซ่อมแซมและฟื้นฟูรวมทั้งสิ้นจำนวน 8 พันล้านเหรียญสหรัฐ วิกฤตอุกทกภัยในครั้งนั้นส่งผลกระทบต่อประชากรจำนวน ...
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ประเทศไทยเป็นประเทศที่อุดมไปด้วย ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนวิถีชีวิตของท้องถิ่นและขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ป่าไม้ แหล่งต้นน้ำ สภาพแวดล้อมทางทะเลและทรัพยากรธรณีเป็นเครื่องมือสำคัญในการสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิต การส่งออกและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทย อย่างไรก็ตาม การพัฒนาเศรษฐกิจ อย่างรวดเร็วในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมามักเกิดขึ้นจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้อย่างไม่ยั่งยืน ลำดับความสำคัญทางเศรษฐกิจมักมีความสำคัญมากกว่าการอนุรักษ์ในหลาย ๆ กรณี 1ประเทศไทยเผชิญกับความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมในหลายภูมิภาครวมทั้งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและประชากรสัตว์ป่าที่ลดลง การตัดไม้ทำลายป่า การกลายเป็นทะเลทราย การขาดแคลนน้ำ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและมลพิษทางอากาศและทางน้ำ 2การกวาดล้างที่ดินและการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในจังหวัดภูเก็ต ประเทศไทย ภาพถ่ายโดย อีวาน เอช บี, ฟลิคเกอร์ ถ่ายภาพเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2549 ภายใต้ลิขสิทธิ์ CC BY-NC-ND 2.0คุณค่าด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อให้บรรลุผลการพัฒนาที่ยั่งยืน สิ่งสำคัญคือต้องทำความเข้าใจกับความสมดุลระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจและคุณค่าด้านสิ่งแวดล้อม มีเครื่องมือมากมายที่ใช้ในประเทศไทยเพื่อประเมินค่าการให้บริการระบบนิเวศและมีการตัดสินใจอย่างรอบคอบเกี่ยวกับนัยยะของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตัวอย่าง เช่น การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ที่ได้รับ 3 และเครื่องมือประเมินมูลค่าระบบนิเวศ 4 ได้รับการใช้เพื่อประโยชน์ในการออกแบบ การชำระเงินสำหรับแผนการให้บริการระบบนิเวศ ที่สร้างแรงจูงใจให้กับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยมีการคาดการณ์ว่ามีการใช้นโยบายการเติบโตสีเขียว การริเริ่มการเจริญเติบโตของคาร์บอนต่ำ: ประเทศไทย ...
ที่ดิน

ประเทศไทยมีความร่ำรวยที่สุดในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ประเทศไทยยังมีนโยบายและแนวปฏิบัติด้านที่ดินที่ยาวนานรวมทั้งแนวปฏิบัติการครอบครองที่ดินของเอกชนโดยปราศจากการถูกแทรกแซง ประมวลกฎหมายที่ดินออกในปี พ.ศ. 2497 และได้แก้ไขเพิ่มเติมเมื่อเร็ว ๆ นี้ในปี พ.ศ. 25511 กรอบทางกฎหมายนี้ยังคงมีเสถียรภาพอย่างต่อเนื่องโดยการสืบทอดผ่านระบอบการเมืองที่ต่างกันไปในขณะที่สถานะของที่ดินมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ในปี พ.ศ. 2504 ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าไม้ร้อยละ 53 ของพื้นที่ทั้งประเทศ และในปี พ.ศ. 2549 พื้นที่ป่าไม้ลดลงเหลือร้อยละ 25 พื้นที่การเกษตรขยายตัวอย่างรวดเร็วโดยผ่านการตัดไม้ทำลายป่าแล้วลดลงจากการแปลงเป็นพื้นที่เมืองหรือการใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์2 ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาพื้นที่การเกษตรได้ฟื้นตัวขึ้นและขณะนี้ร้อยละ 43 ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศถูกนำมาใช้เพื่อการเพาะปลูก 3 จากข้อมูลล่าสุดในปี พ.ศ. 2560 พื้นที่ป่าไม้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 32 ของพื้นที่ทั้งหมด4 การเพิ่มจำนวนประชากร การเปิดเสรีของตลาดที่ดินและการเติบโตของธุรกิจการเกษตรเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อการเป็นเจ้าของที่ดิน มีจำนวนเกษตรกรที่ไม่มีที่อยู่อาศัยหรือชาวนาที่ไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเองเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ5 อย่างไรก็ดี เกษตรกรรายย่อยปัจจุบันยังคงไม่ได้รับความเท่าเทียมในการถือครองที่ดิน6 แหล่งที่มาของข้อมูล: องค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและการกำกับดูแลทรัพยากรของประเทศไทย *สำนักงานสถิติแห่งชาติ สร้างโดย ODI เมื่อเดือนพฤษภาคม ...