Environment and land

NGO ย้ำสถานการณ์แรงงานภาคประมงของไทยเปลี่ยนแปลงดีขึ้น

เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2561 นายวีระชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ได้เป็นประธานในพิธีเปิดงานเสวนาภายใต้หัวข้อ “Thailand’s Path to Sustainable Fisheries” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างการจัดงานแสดงสินค้า Seafood Expo North America (SENA) 2018 ณ Boston Convention and Exhibition Center เมืองบอสตัน สหรัฐอเมริกา โดยมีนางอภิญญา ทาจิตต์ รองผู้อำนวยการศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทางทะเล (Stella Maris) ซึ่งเป็น NGO ที่ทำงานร่วมกับภาครัฐในการให้การช่วยเหลือและคุ้มครองแรงงานต่างด้าวในภาคประมงทะเลของไทยเข้าร่วมด้วยอ่านต่อ ...

กระทรวงเกษตรจัดทำแผนปฏิรูปการเกษตร 5 ประเภท

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะผลักดันให้เกิดการเกษตรแบบยั่งยืนซึ่งจะรวมภูมิปัญญาในท้องถิ่นรวมอยู่ในแผนปฏิรูปรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร เปิดเผยว่าในปีนี้แผนงานการผลิตทางการเกษตรและการปฏิรูปการเกษตรในปี พ.ศ.2560-2564 โดยเน้นถึงความสำคัญของการเกษตร 5 ชนิด คือ การทำฟาร์มแบบผสมผสาน การทำเกษตรกรรมตามธรรมชาติ การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ การทำเกษตรอินทรีย์ และการทำวนเกษตร ซึ่งมีเป้าหมายคือการขยายพื้นที่การเกษตรแบบยั่งยืนสู่พื้นที่ 2 ล้านเอเคอร์ภายในปี พ.ศ.2564อ่านต่อ ...

คุณภาพอากาศอยู่ในระดับที่ไม่ปลอดภัยอีกครั้ง

คุณภาพอากาศแย่อีกครั้ง หลังจากที่กรมควบคุมมลพิษตรวจวัดจากสถานีตรวจคุณภาพอากาศทั้ง 5 แห่งในวันจันทร์ที่ผ่านมา พบว่ามีปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กเกินขีดจำกัดในระดับที่ปลอดภัยทางกรมควบคุมมลพิษ กล่าวว่า ค่าเฉลี่ยของอนุภาคที่เรียกว่า PM2.5 ในช่วงเวลา  24 ชั่วโมงที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นจาก 52 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรจากที่ตรวจวัดในวันอาทิตย์ เป็น 76 ไมโครกรัมต่อลูกบากศ์เมตร ในเขตบางนาซึ่งตรวจวัดได้เมื่อวานนี้อ่านต่อ ...

ประชาชนตำหนิเจ้าหน้าที่ในการเตือนภัยปัญหาหมอกควัน

ปัญหาการขาดแคลนสถานีตรวจวัดฝุ่นละอองขนาด 2.5 ไมครอน (PM2.5) ที่ถูกกล่าวหาว่าขาดการแจ้งเตือนมลพิษ เจ้าหน้าที่ได้ให้คำเตือนเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศที่ถูกต้องและทันสมัยแก่ประชาชนในปัญหาหมอกควันทางเหนือที่ทวีความรุนแรงขึ้น ประชาชนชาวเชียงใหม่ได้ตำหนิผู้ดูแลระบบเตือนภัยด้านมลพิษทางอากาศของประเทศเชียงใหม่ในหน้า Facebook “@thailandgotsmoke” นายกิตติชัย แก้วล้อมบึง กล่าวว่าระบบเตือนภัยคุณภาพอากาศอย่างเป็นทางการไม่สามารถเตือนประชาชนเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศได้อย่างถูกต้องและอันตรายต่อสุขภาพของพวกเขาอ่านต่อ ...

มลพิษทางอากาศลดลงในภาคเหนือ แต่เพิ่มขึ้นในกรุงเทพฯ

หมอกควันได้ลดลงในภาคเหนือ แต่ระดับฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5) ในอากาศเพิ่มขึ้นในเขตกรุงเทพฯ โดยอยู่ในระดับใกล้เคียงกับขีดจำกัดระดับปลอดภัยอยู่ที่ระดับ 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรการวัดระดับ PM2.5 ตามรายงานของกรมควบคุมมลพิษและเว็บไซต์การติดตามคุณภาพอากาศระหว่างประเทศ  aqicn.org  เมื่อวันเสาร์เปิดเผยว่า ภาพรวมมลพิษในภาคเหนือลดลง พื้นที่ส่วนใหญ่มีระดับ PM2.5 ต่ำกว่าขีด จำกัดที่ปลอดภัย ยกเว้น อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ที่มีระดับ PM2.5 เฉลี่ยรายวันอยู่ที่ 52.77 ไมโครกรัมอ่านต่อ ...

เชียงใหม่ แม่สอด กำลังเผชิญมลพิษทางอากาศที่รุนแรง

จังหวัดเชียงใหม่และอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ยังคงต้องเผชิญกับปัญหามลพิษทางอากาศที่เกิดจากหมอกควัน โดยฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5) ของพื้นที่ทั้งสองแห่งนี้มีปริมาณสูงในระดับที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนในท้องถิ่นรายงานคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษ (PCD)  พบว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ในภาคเหนือมีคุณภาพอากาศที่ดีขึ้นในวันศุกร์ ยกเว้นเชียงใหม่และแม่สอด ซึ่งระดับ PM2.5 ในพื้นที่ทั้งสองแห่งยังคงทวีความรุนแรงมากขึ้น ในวันศุกร์ที่ 6 ที่เชียงใหม่มีระดับสูงสุดที่ 124 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ในขณะที่แม่สอดอยู่ที่ 204 ไมโครกรัมอ่านต่อ ...

นักลงทุนแสดงความเชื่อมั่นในการริเริ่มนโยบาย EEC ของไทย

ดูเหมือนว่านักลงทุนเริ่มมั่นใจในนโยบายส่งเสริมการลงทุนของรัฐบาลโดยเฉพาะโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)นายวีรพงศ์  ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาว่าการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้ขายที่ดิน 3,300 ไร่ ที่อยู่ภายใต้การดูแล ซึ่งสามารถแปลงเป็นมูลค่าเงินลงทุนรวม 83,000 ล้านบาทอ่านต่อ ...

คุณภาพอากาศแย่ลงในขณะที่ข้อมูลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือขาดแคลน

มลพิษทางอากาศซึ่งเกิดจากฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5) ยังคงเพิ่มปริมาณอย่างต่อเนื่องในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในขณะที่ไม่มีการตรวจวัดที่แม่นยำ เนื่องจากในหลาย ๆ จังหวัดยังไม่มีสถานีตรวจวัดฝุ่นละอองขนาด 2.5 ไมครอนภาคเหนือมีฝุ่นละอองเพิ่มสูงขึ้นเป็นช่วง ๆ จากการสะสมของฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศ ในขณะที่อุปกรณ์ตรวจวัด PM2.5 ในจังหวัดขอนแก่นเมื่อวานนี้ระบุว่ามีมลพิษทางอากาศเกิดขึ้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อย่างไรก็ตามในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีข้อมูลที่ไม่แน่ชัดเนื่องจากสถานีตรวจวัดมีอยู่แค่ที่จังหวัดขอนแก่นเท่านั้นอ่านต่อ ...

เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า แพทย์ พบว่าจังหวัดเชียงใหม่มีมลพิษเพิ่มสูงขึ้น

สถานการณ์หมอกควันในภาคเหนือถึงจุดวิกฤต โดยเฉพาะจังหวัดลำปางซึ่งมีปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5) ในอากาศเพิ่มสูงขึ้นถึง 200 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตรคุณภาพอากาศในภาคเหนือเมื่อวานนี้วัดโดยกรมควบคุมมลพิษและเว็บไซต์เฝ้าระวังคุณภาพอากาศระหว่างประเทศ aqicn.org ได้แสดงระดับ PM2.5 ที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในหลายจังหวัดอ่านต่อ ...

มลพิษทางอากาศระดับอันตรายในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

มลพิษทางอากาศในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือทวีความรุนแรงมากขึ้นเนื่องจากพบว่ามีระดับฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5) อยู่ในระดับที่เป็นอันตรายในหลายจังหวัด ข้อมูลจากระบบการตรวจสอบคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษ (PCD) เมื่อวานนี้ แสดงให้เห็นว่าระดับ PM2.5 เฉลี่ยรายวันในจังหวัดเชียงใหม่ ขอนแก่น และลำปาง ได้เพิ่มขึ้นเกินระดับความปลอดภัยของประเทศไทยที่ระดับ 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งวัดปริมาณ PM2.5 ในจังหวัดเหล่านั้นอยู่ที่ 80.65, 64.95 และ 50 มิลลิกรัมตามลำดับอ่านต่อ ...

Contact us

Contact us

Do you have questions on the content published by Open Development Thailand? We will gladly help you.

Have you found a technical problem or issue on the Open Development Thailand website?

Tell us how we're doing.

Do you have resources that could help expand the Open Development Thailand website? We will review any map data, laws, articles, and documents that we do not yet have and see if we can implement them into our site. Please make sure the resources are in the public domain or fall under a Creative Commons license.

File was deleted
ERROR!

Disclaimer: Open Development Thailand will thoroughly review all submitted resources for integrity and relevancy before the resources are hosted. All hosted resources will be in the public domain, or licensed under Creative Commons. We thank you for your support.

pZJDt
* The idea box couldn't be blank! Something's gone wrong, Please Resubmit the form! Please add the code correctly​ first.

Thank you for taking the time to get in contact!