Environment and land
การเกษตรและการประมง
ผู้ประกอบการประมงประท้วงกฎระเบียบที่เข้มงวดของรัฐบาล
กลุ่มผู้ประกอบการเรืออวนลาก และเรือประมงได้รวมตัวกันกว่าพันคนตาม 22 จังหวัดชายฝั่ง เพื่อประท้วงประท้วงกฎระเบียบที่เข้มงวดของรัฐบาล โดยมีวัตถุประสงค์ในการต่อต้านการทำประมงที่ผิดกฎหมาย การประมงที่ขาดการรายงาน และการประมงที่ขาดการควบคุม (IUU)อ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์
ประเทศไทยตัั้งเป้าลดพื้นที่สวนยาง เพิ่มมูลค่าการส่งออก
น.ส.รัชดา ธนาดิเรก โฆษกรัฐบาลหญิง กล่าวว่า คณะรัฐมนตรีของไทยได้อนุมัติแผนยุทธศาสตร์ยางพารา 20 ปี เพื่อลดการทำสวนยาง 21% ทั่วประเทศ และเพิ่มมูลค่าการส่งออกยางพารามากกว่าสามเท่าประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกยางธรรมชาติอันดับต้น ๆ ของโลกซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากถึง 40% ของอุปทานทั่วโลก แต่เกษตรกรยางพาราไทยได้ประสบปัญหาราคาต่ำในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาซึ่งสอดคล้องกับอุปสงค์ทั่วโลกที่ลดลงอ่านต่อ ...
เจ้าหน้าที่สาธารณสุขอาวุโสย้ำเดินหน้าการห้ามใช้ 3 สารเคมีทางการเกษตรอันตราย
เจ้าหน้าที่ระดับสูงในกระทรวงสาธารณสุข 3 ท่าน ได้ประกาศว่าทางกระทรวงฯ จะยังคงเดินหน้าสนับสนุนการห้ามใช้สารเคมีทางการเกษตรอันตราย ได้แก่ พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต ถึงแม้จะมีการแสดงออกของประชาชนในการต่อต้านต่อคณะกรรมการสารอันตรายแห่งชาติก็ตามอ่านต่อ ...
น้ำท่วม ภัยแล้งเป็นสาเหตุทำให้การผลิตข้าวเปลือกปี’62-63 ลดลง
คาดการณ์การผลิตข้าวเปลือกประจำปีของประเทศไทย ทั้งนาปี และนาปรังในฤดูกาลเพาะปลูกปี พ.ศ.2562 -2563 จะอยู่ที่ 27-28 ล้านตัน ลดลงจากฤดูกาลก่อนหน้า อันเป็นผลมาจากการลดลงของผลผลิตข้าวนาปรังเนื่องจากปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้งนายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน ซึ่งเป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการจัดการราคาอ้างอิงสำหรับการประกันราคาข้าว กล่าวว่า ผลผลิตข้าวเปลือกที่ได้จากการเก็บเกี่ยวครั้งที่สองอยู่ที่ 3.5 ล้านตันลดลง 54% จาก 7.75 ล้านตันในฤดูกาลที่ผ่านมา เนื่องจากภัยแล้งและปัญหาขาดแคลนน้ำในเขื่อนอ่านต่อ ...
ผุสดี อรุณมาศ
เกษตรกรร่วม1,000 คน บุกทำเนียบค้านห้ามใช้ 3 สารเคมี
เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ชาวนาและผู้ผลิตสารเคมี จำนวนกว่า 1,000 ราย ได้ร่วมตัวกันหน้าทำเนียบรัฐบาล เพื่อต่อต้านการห้ามใช้สารเคมีอันตรายในภาคเกษตร 3 ชนิด ซึ่งต้องการการศึกษาอย่างละเอียดถึงผลกระทบต่อเกษตรกร และธุรกิจโดยผู้ประท้วงนำโดยตัวแทนจากสมาคมการค้านวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย สมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร และสมาคมอารักขาพืชไทยอ่านต่อ ...
อภิญญา วิภาตะโยธิน
รัฐบาลไฟเขียวมาตรการดึงราคาข้าวเปลือก 7 หมื่นล้าน
รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณ 70,000 ล้านบาท สำหรับมาตรการดึงราคาข้าวเปลือก เพื่อรับมือผลผลิตออกพร้อมกันจำนวนมากในเดือนนี้นายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า จากการประชุมครั้งล่าสุดของคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าวแห่งชาติ โดยมีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน ได้มีการอนุมัติมาตรการดึงราคาข้าวเปลือก มูลค่า 7 หมื่นล้านบาทอ่านต่อ ...
ผุสดี อรุณมาศ
ราชกิจจาฯ เผยแพร่คำสั่งแจ้งการครอบครอง-ส่งมอบ 3 สารเคมีในสิ้นปีนี้
วันที่ 18 พ.ย.2562 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คำสั่งกรมวิชาการเกษตร เรื่องการดำเนินการกับวัตถุอันตราย ชนิดที่ 4 ที่กรมวิชาการเกษตรเป็นผู้รับผิดชอบโดยมีรายละเอียดว่าอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2551อ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น
สทนช.เตรียมหามาตรการรับมือฤดูแล้ง
คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติต้องการให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จัดทำมาตรการรองรับการปลูกข้าวประจำปี โดยสร้างผลกระทบต่อแผนการจ่ายน้ำสำหรับฤดูแล้งปี 2562-2563นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัยพากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวว่ามาตรการดังกล่าวมีความจำเป็นสำหรับพื้นที่เกษตรบางส่วนจำนวน 1.27 ล้านไร่ หลังจากแผนการจัดการน้ำในฤดูฝนนี้ไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ เนื่องจากเกษตรกรมีความต้องการปริมาณน้ำประมาณ 1.35 พันล้านลูกบาศก์เมตรอ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์
รัฐบาลเล็งตั้งศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อปรับปรุงผลิตผลทางการเกษตร
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ทางกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้หารือกันเรื่องการสร้างศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อจัดการอุปสงค์และอุปทานของสินค้าเกษตรตั้งแต่ระดับชาติไปจนถึงระดับจังหวัดและระดับภูมิภาคโดยนายจุรินทร์ กล่าวเสริมว่า “กระทรวงของเขาได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า [TPSO] จัดตั้งระบบในการติดตามการจัดการข้าว น้ำมันปาล์ม ยาง มันสำปะหลัง และข้าวโพด เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายและยุทธศาสตร์ได้ดีขึ้น” อ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น
อุตสาหกรรมการประมงของไทยมีความก้าวหน้า แต่ความท้าทายยังเหลืออยู่
ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) ประกาศระงับสิทธิพิเศษทางการค้าภายใต้ระบบสิทธิพิเศษภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP) สำหรับสินค้านำเข้าจากไทย จำนวนกว่า 500 รายการ รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหารทะเลของไทยโดยให้เหตุผลว่าประเทศไทยล้มเหลวในการคุ้มครองสิทธิแรงงานที่เพียงพอ ซึ่งการระงับสิทธิจะมีผลในวันที่ 25 เมษายนปีหน้าอ่านต่อ ...
Deutsche Welle